Social Icons

ข้อมูลทั่วไป



ประวัติหมู่บ้าน

              หมู่ที่ 4 บ้านเตราะหัก

                  "เตราะหัก"  เป็นชื่อเรียกตามสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นตรอกของน้ำในแอ่งหรืออ่าวซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งหลบคลื่นลมแรงในช่วงฤดูมรสุม เป็นหมู่บ้านที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำการประมงชายฝั่ง ในสมัยก่อนชาวบ้านที่ออกหาปลามักจะมาแวะพักอยู่เป็นประจำและในที่สุดก็มาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่แห่งนี้

                บ้านแฆแฆหรือบ้านบางเคียนอยู่ริมฝั่งอ่าวไทย มีหาดทรายประกอบด้วยโขดหินภูเขาสวยงามมาก น้ำจากคลองบางหมูไหลมาออกทะเลที่ปากอ่าวแฆแฆ

                 แฆแฆแปลเป็นภาษาไทยคือ  เสียงดัง มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อประมาณหลายร้อยปีมาแล้วมีเรือสำเภามาจากประเทศจีน บรรทุกสินค้าเต็มลำเรือเพื่อไปจำหน่ายในเมืองต่างๆถูกพายุพัดเรือแตกเข้ามาเกยตื้นแห่งนี้ ลูกเรือได้รับความเดือดร้อน เจ็บปวด ส่งเสียงร้องดังไปทั่วบริเวณ ประกอบกับคลื่นลมกระหน่ำ โขดหินเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ต่อมามีราษฏรชาวทะเลมาตั้งบ้านเรือนอยู่ชายทะเลแถบนี้ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า  บ้านแฆแฆ

ประวัติการก่อตั้ง

                        เมื่อปี พ..2534 นายหมัด จเรเสะ ได้บริจาคที่ดินให้กับกระทรวงสาธารณสุขและได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินราชพัสดุ จำนวน 1 ไร่ จากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยบ้านเตราะหัก ปีพ..2549 ได้ยกฐานะจากสถานีอนามัยบ้านเตราะหักเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านเตราะหัก ปี2554  ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก

อาณาเขตติดต่อ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก   ตั้งอยู่  หมู่ที่ 4   ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ  จังหวัดปัตตานี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปะนาเระ  7  กิโลเมตร  ห่างจากโรงพยาบาลปะนาเระ  10  กิโลเมตร   มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง  ดังนี้

                ทิศเหนือ                ติดต่อ  หมู่ที่ 2     บ้านน้ำบ่อ  อำเภอปะนาเระ  จังหวัดปัตตานี

                ทิศใต้                      ติดต่อ  หมู่ที่ 1,8   ตำบลบ้านกลาง   อำเภอปะนาเระ   จังหวัดปัตตานี

                ทิศตะวันออก       ติดต่อ ทะเลอ่าวไทย

                ทิศตะวันตก          ติดต่อ     หมู่ที่1,8 ตำบลพ่อมิ่งและตำบลบ้านกลาง  อำเภอปะนาเระ   จังหวัดปัตตานี

ลักษณะภูมิประเทศ

              เขตพื้นที่รับผิดชอบของ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก   พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบชายฝังอ่าวไทย   มีลำคลองตลอดจนพรุแฆแฆที่ไหลผ่านชุมชนก่อนไหลออกสู่ปากอ่าวที่บ้านแฆแฆลงสู่ทะเลอ่าวไทย   

ประชากร

             ประชากรส่วนใหญ่ มีเชื้อสายมลายู

การนับถือศาสนา       

             ประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 98.91    และบางส่วนนับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 1.09 ที่บ้านบางหมู

อาชีพและเศรษฐกิจ

            อาชีพและเศรษฐกิจ  ราษฏรมีหลายอาชีพพวกที่อาศัยอยู่แถบชายทะเล  ประกอบอาชีพ ประมง  ทำน้ำบูดู   หาลูกปลาเก๋า  เลี้ยงนกเขาชวา  ส่วนพวกที่อยู่ห่างทะเลออกไป จะทำเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป เช่นตัดยางตามจังหวัดต่างๆ และอีกบางส่วนเมื่อทำนาเสร็จแล้วก็ออกไปรับจ้าง ดำนา เกี่ยวข้าว ถางป่า  ปลูกยางพารา ที่ประเทศมาเลเซีย

              การคมนาคม

             การไปมาติดต่อมีเส้นทางที่สำคัญคือ ถนน สายปะนาเระ สายบุรีลาดยางเลียบชายฝั่งทะเลผ่าน แฆแฆ  น้ำบ่อ ท่าสู

ขนบธรรมเนียมประเพณี

มีภาษามลายูเป็นสื่อในการพูด และศาสนาอิสลามเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ มีวันฮารีรายอ วันเมาลิด ประเพณีการแต่งงาน การเข้าสุนัต และการแสดงพื้นบ้านเช่น ซีละ รองเง็ง และลิเกฮูลู

ลักษณะภูมิอากาศ 

                            เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ทำให้เกิดฝนตกชุก มี 2 ฤดู คือฤดูฝนและฤดูร้อนคือเดือน พฤษภาคม มกราคมและกุมภาพันธ์ เมษายน ตามลำดับ

ลักษณะการปกครอง

           เป็นการปกครองโดยองค์การบริหารส่วนตำบล            

สถานภาพทางการศึกษา

               บ้านเตราะหัก   มีสถานศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6    โรงเรียนบ้านเตราะหัก  หลังจากนั้นประชาชนก็จะส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่มีการเรียนในระดับชั้นมัธยม  และบางส่วนก็ส่งไปเรียนโรงเรียนของรัฐ

               โรงเรียนบ้านเตราะหักมีจำนวนครูทั้งสิ้น  12 คน  ลูกจ้าง 1 คน บุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่

               โรงเรียนบ้านบางหมู มีจำนวนครูทั้งสิ้น  12     คน

                        ข้อมูลด้านทรัพยากรและประชากรที่รับผิดชอบ

เจ้าหน้าที่                                จำนวน 4  คน
อาสาสมัครสาธารณสุข          จำนวน  21  คน
พื้นที่รับผิดชอบ                      จำนวน  2  หมู่บ้าน
หลังคาเรือน                            จำนวน  375  หลังคาเรือน
ครัวเรือน                                 จำนวน  685   ครัวเรือน
ประชากรทั้งหมด                    จำนวน  2,297  คน         ชาย  1,152    คน   หญิง    1,145      คน
จนท. / ประชากร                     1 : 568
อสม. / หลังคาเรือน                 1 : 17
มัสยิด                                      จำนวน  3  แห่ง
โรงเรียน                                  จำนวน  2  โรงเรียน
ร้านขายของชำ                         จำนวน  14 ร้าน
แผงลอยจำหน่ายอาหาร           จำนวน  2  แผง

 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates