Social Icons

วันศุกร์, ตุลาคม 04, 2556

โรคอ้วนลงพุง

โรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome

               โรคอ้วนลงพุงหรือ Metabolic syndrome เป็นภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอวและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ Metabolic syndrome คำนี้เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้การอย่างแพร่หลาย หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกต ิส่งผลทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในที่สุดจะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง สมัยก่อนเรียกกลุ่มโรคนี้ว่า Syndrome X, insulin resistance syndrome




เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome

  1. จะต้องเป็นอ้วนชนิดลงพุง กล่าวคือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม.ในชายและหญิงตามลำดับ
และมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
  1. ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มม ปรอทหรือผู้ที่ได้รับยาลดความดันโลหิต
  2. ระดับ Triglyceride >150 mg% ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
  3. ระดับ HDL > 40,50 mg%สำหรับชายและหญิงตามลำดับ หรือผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน
  4. ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่2
พบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า
คนกลุ่มใดที่มักจะเป็นโรคอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่2
  • ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง และมีระดับอินซูลินในเลือดสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
สาเหตุของโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่น่าจะเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • พันธุกรรม
การเกิดภาวะนี้ขึ้นกับพันธุกรรมของแต่ละประเทศ และเชื้อชาติทำให้ระดับอ้วนลงพุงไม่เท่ากัน และขึ้นกับการวิจัยของแต่ละประเทศว่าค่าเส้นรอบเอวควรจะเป็นเท่าใด ตารางข้างล่างแสดงค่าเส้นรอบเอวของบางประเทศ สำหรับประเทศไทยใช้เกณฑ์ประเทศเอเซียใต้
ประเทศ/กลุ่มประเทศ
รอบเอว
ประเทศในกลุ่มยุโรป(อเมริกาใช้ 102,88 ซม)
ชาย
หญิง
94
80
ประเเทศในเอเซียใต้(จีน อินเดีย มาเลเซีย)
90
80
ประเทศจีน
90
80
ประเทศญี่ปุ่น
85
90
  • อาหารที่เรารับประทาน
  • พฤติกรรมการดำรงชีวิต
กลไกการเกิดเนื่องจากร่างกายของผู้ที่เป็นโรคนี้ดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องสร้างอินซูลินเป็นปริมาณมาก เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อเวลาผ่านไปตับอ่อนก็ไม่สามารถที่จะสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอจึงเกิดเบาหวาน
การเกิด Metabolic syndrome จะเกิดก่อนการเกิดโรคเบาหวาน ปริมาณอินซูลินที่สูงจะทำให้มีไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการทำลายเซ,,ืผิวของผนังหลอดเลือดรวมทั้งมีผลต่อไต ดูกลไกการเกิดโรค
วิธีการวัดเส้นรอบเอว
  • ใช้สายเมตรธรรมดา
  • วัดรอบเอวเหนือสะโพก
  • ให้สายขนานกับพื้น
  • อย่าให้สายรัดแน่เกินไป
  • วัดขณะที่หายใจออกเต็มที่
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
  • อายุ พบว่าอายุมากมีโอกาศที่จะเป็นภาวะนี้สูง ผู้ที่มีอายุ 20จะพบภาวะนี้เพียงร้อยละ10 คนที่อายุ 60จะมีอัตราการเกิดร้อยละ 40
  • เชื้อชาติ คนผิวดำจะมีโอกาศมากกว่าปกต
  • คนอ้วนจะมีโอกาศมากกว่าคนผอม
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาศเป็นโรคสูง
  • โรคอื่นๆเช่นความดันโลหิตสูง
อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าหากเป็นโรคในกลุ่มนี้แล้วจะมีโรคหลายระบบเช่น
ภาวะนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
  • ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่าย
  • ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  • ไขมัน triglyceride ที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ
  • เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายทำให้อุดหลอเดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือสมอง
  • เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย
การรักษา
เมื่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรค Metabolic Syndrome จะต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเบาหวาน และจะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอื่นด้วย
การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม
  • การออกกำลังกาย วันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วันจะลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  • การับประทานอาหารสุขภาพ ลดอาหารไขมันลง และรับอาหารพวกแป้งไม่เกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่นอาหารธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ถั่ว ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปามล์ งดกระทิ
  • ลดน้ำหนัก จากการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และอเมริกาพบว่าการลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนัก จะชลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
  • ลดสุรา
การรักษาโดยการใช้ยา
เมื่อปรับปรุงพฤติกรรมแล้วปรากฎว่ายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันหรือความดันโลหิตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุม
การรักษาไขมันในเลือด
เป้าหมาย
  1. ลดระดับไขมัน Triglyceride
  2. เพิ่มระดับไขมัน HDL
  3. ลดระดับไขมัน LDL
ยาที่ใช้รักษา
  1. Fibrate (PPAR alpha agonists)จะลดไขมันและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  2. Statin ใช้ลดไขมันโดยเฉพาะ ApoB-containing lipoproteins และมีรายงานว่าลดอุบัติการของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  3. การใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากยา
การรักษาความดันโลหิต
  1. ควรจะเริ่มรักษาเมื่อความดันโลหิต เท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
  2. สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรจะเริ่มรักษาเมื่อความดันโลหิต 130/80 มม.ปรอท
ยาที่ใช้รักษา
  1. เชื่อว่ายาในกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors[เช่น enarapril,perindopril ]and angiotensin receptor blockers[cozaar,valsartane ] จะช่วยลดโรคแทรกซ้อน แต่จากหลักฐานปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากยาลดความดันโลหิตมากกว่า
การรักษาภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • ยาที่เพิ่มให้การออกฤทธิ์ของอินซูลินดีขึ้น เช่น Metformin, thiazolidinediones
การรักษาอื่นๆ
  • aspirin เพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • งดบุหรี่
การพบแพทย์
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง เช่น อ้วน น้ำตาลในเลือดสูง ควรจะปรึกษาแพทย์
ทบทวน 07/01/2006

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates