Social Icons

วันศุกร์, ตุลาคม 11, 2556

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่2012

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่2012
                                                                                                                     โดย กวกพ. สนพ.ยบ.ทหาร
เชื้อก่อโรค
     เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single stranded RNA virus)
ใน Family Coronaviridae มีรายงานการพบเชื้อมาตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1965 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคน
และสัตว์เช่น หนูไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่ายและสุกร ประกอบด้วยชนิดย่อยหลายชนิด และท าให้
มีอาการแสดงในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ (รวมถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส;SARSCoV) ระบบทางเดินอาหารระบบประสาทหรือระบบอื่น ๆ

ระบาดวิทยาของเชื้อ
       เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) พบได้ทั่วโลกโดยในเขตอบอุ่น (temperate climates) มักพบเชื้อโคโรน่า
ไวรัส ในช่วงฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส อาจท าให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ถึงร้อยละ 35 และสัดส่วนของโรคไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อโคโรน่าไวรัส อาจสูงถึงร้อยละ 15 การติดเชื้อพบได้ในทุกกลุ่มอายุแต่พบมากในเด็กอาจพบมีการติดเชื้อซ้ าได้เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงอย่างรวดเร็ว
ภายหลังการติดเชื้อ
     ส าหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส (SARSCoV) พบการระบาดปีพ.ศ.2546
โดยพบเริ่มจากประเทศจีน แล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก พบรายงานผู้ป่วยโรคซาร์สทั้งสิ้น มากกว่า 8,000 รายและเสียชีวิตมากกว่า 750 ราย
ลักษณะโรค
     การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Coronaviruses) อาจท าให้เกิดอาการ
ไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ ามูก เจ็บคอ ไอ โดยในทารกที่มีอาการรุนแรงอาจมีลักษณะของปอดอักเสบ(Pneumonia) หรือหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ในเด็กโตอาจมีอาการของหอบหืด (Asthma)
ส่วนในผู้ใหญ่อาจพบลักษณะปอดอักเสบ (Pneumonia) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
หรือการกลับเป็นซ้ าของโรคหอบหืดได้และอาจท าให้เกิดอาการรุนแรงได้มากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยพบการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ในทุกอายุและหากแสดงอาการ มักพบร่วมกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น Rhinovirus, Adenovirus หรือเชื้ออื่นๆ
การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome;
SAR CoV) จะพบมีอาการไข้ปวดศีรษะ อ่อนเพลียหรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แล้วมีอาการไอและ
หอบเหนื่อยอย่างรวดเร็ว ซึ่งอัตราตายจะสูงขึ้น ในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจ าตัว
การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Coronaviruses) มักพบบ่อย
ในเด็กแรกเกิดและทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีหรืออาจพบในผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยพบเชื้อได้แม้ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ และไม่มีฤดูกาลการเกิดโรคที่แน่นอน- ๒ -
ระยะฟักตัวของโรค
โดยเฉลี่ยประมาณ 2 วัน (อาจมีระยะฟักตัวนานถึง 3 - 4 วัน) ส าหรับโรคซาร์สอาจใช้ระยะฟักตัว
4 - 7 วัน (อาจนานถึง 10 - 14 วัน)
วิธีการแพร่โรค
แพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส (Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือแพร่กระจายเชื้อ
จากฝอยละอองน้ ามูกน้ าลาย (Droplet) จากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยการไอหรือจาม
การป้องกัน
 ออกก าลังกายสม ่าเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่
 ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
 แนะน าให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัยปิดปากปิดจมูกเวลาไอหรือจาม
 ควรล้างมือบ่อยๆด้วยน้ าและสบู่หรือสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ ายาฆ่าเชื้อโดยเฉพาะเมื่อสัมผัส
กับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย
 ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจ านวนมากเพื่อ
ลดความเสี่ยงในการติดโรค
ถ้าจะต้องเดินทางไปร่วมพิธีฮัจจ์จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?
 ก่อนเดินทาง
- เนื่องจากทางองค์การอนามัยโลกยังไม่แนะน าให้มีการจ ากัดการเดินทางไปยังประเทศใด ดังนั้น
ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศให้เตรียมร่างกายให้พร้อมหากมีโรคประจ าตัว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และ
เน้นการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลเช่นการล้างมือเป็นต้น
- ขอรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามที่ประเทศซาอุดิอาระเบียก าหนดอันได้แก่วัคซีน
โรคไข้กาฬหลังแอ่นและวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
 ระหว่างอยู่ในต่างประเทศ
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่มีอาการไอหรือจาม
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัดโดยไม่จ าเป็นเพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรคหากจ าเป็นต้อง
เข้าไปในพื้นที่แออัดผู้มีโรคประจ าตัวที่เสี่ยงต่อการป่วยอาจพิจารณาการใส่หน้ากากอนามัย และเปลี่ยนบ่อยๆ
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ า และสบู่
- หากมีอาการคล้ายไข้หวัดเช่นมีไข้ไอจามมีน้ ามูกให้ใส่หน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงการคลุกคลี
กับผู้อื่นหากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการหอบเหนื่อยหายใจล าบากควรไปพบแพทย์- ๓ -
 หลังเดินทางกลับมาในประเทศไทย
- สังเกตอาการผิดปกติต่ออีก 10 วันหลังจากกลับมาจากต่างประเทศหากมีอาการไข้ไอเจ็บคอ
มีน้ ามูกควรพักผ่อนอยู่กับบ้านและปฏิบัติตามมาตรการลดการแพร่เชื้อสู่คนรอบข้างโดยการใส่หน้ากากอนามัย
และล้างมือบ่อยๆ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วันหรือมีอาการไข้สูงหอบ เหนื่อยหายใจล าบากควรไปพบแพทย์
พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง
มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณสุข
- ประชาสัมพันธ์และให้ค าแนะน าส าหรับผู้เดินทางที่จะไป - มาจากต่างประเทศที่พบผู้ป่วย
- ด าเนินการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาและทางห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งเตรียมการสอบสวนโรค
และเก็บตัวอย่างส่งทางทางห้องปฏิบัติการ หากพบผู้ป่วยสงสัย
- แจ้งเตือนบุคลากรทางการแพทย์ และสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อม
ด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยให้เข้มงวดเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับเคย
ปฏิบัติมาแล้วเมื่อพบการเกิดโรคซาร์ส
- ขอความร่วมมือจากสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด กรุงเทพมหานคร รวมทั้งกระทรวงต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงแรงงานในการ
เตรียมความพร้อมส าหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่2012
- มีการปรับปรุงแนวทางการด าเนินงานต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยสามารถติดตาม
ข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์ส านักโรคติดต่ออุบัติใหม่ชื่อ http://beid.ddc.moph.go.th
- การประสานความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติประเทศ
สหรัฐอเมริกา ในการร่วมกันประเมินสถานการณ์ และวางมาตรการป้องกันควบคุมโรค รวมทั้งเตรียม
ความพร้อมรับมือการระบาดของโรค
- มีการเตรียมความพร้อมและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของสนามบินสุวรรณภูมิที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน
และภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ในการเฝ้าระวังและรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012
- คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ การด าเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่
2012 ของกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555
- ด าเนินการแจกบัตรค าเตือนสุขภาพ (Health Beware Card) ให้แก่ผู้เดินทางจากต่างประเทศ
ทุกคน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
- จัดประชุมคณะท างานด้านการวินิจฉัย รักษาพยาบาล และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
โดยมีตัวแทนจากกรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
จากสถาบันต่างๆ เพื่อก าหนดแนวทางการวินิจฉัย รักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วย และการป้องกันการติดเชื้อ
ในโรงพยาบาล ซึ่งจะได้ด าเนินการเผยแพร่แนวทางนี้ต่อไป- ๔ -
ค าแนะน าส าหรับผู้เดินทางที่จะไป - มาจากต่างประเทศ
- เนื่องจากทางองค์การอนามัยโลก ยังไม่แนะน าให้มีการจ ากัดการเดินทางไปยังประเทศใด ดังนั้น
ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ให้เน้นการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และหมั่นล้างมือบ่อยๆ นอกจากนั้น
ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจ านวนมากๆ เพื่อลดความเสี่ยง
ในการติดโรค หากจ าเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่อาจพิจารณาการใส่หน้ากากอนามัย และเปลี่ยนบ่อยๆ
- ผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ ควรสังเกตอาการผิดปกติ หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ ามูก
ควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน และปฏิบัติตามมาตรการลดการแพร่เชื้อสู่คนรอบข้าง โดยการใส่หน้ากากอนามัย และ
ล้างมือบ่อยๆ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการไข้สูง หอบเหนื่อย หายใจล าบาก ควรไปพบแพทย์
พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง
ค าแนะน าประชาชน
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ หรือจาม
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ าและสบู่
- ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจ านวนมาก
หากจ าเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่แออัด อาจพิจารณาการใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค
- แนะน าให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูกเวลา ไอ หรือจาม
- ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดีได้แก่กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
***********************************************
เอกสารอ้างอิง
1. http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=668
2. http://www.hpa.org.uk/NewsCentre/NationalPressReleases/2012PressReleases/120923
acuterespiratoryillnessidentified/_
3. ส านักโรคติดต่ออุบัติใหม่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates